ประกันสุขภาพ ประกันทรัพย์สิน สำหรับนักเรียนต่างชาติในออสเตรเลีย

แม้จะมีหลายเรื่องที่ต้องกังวลเมื่อต้องใช้ชีวิตในต่างประเทศอย่าง จะทำยังไงดีถ้าป่วย จะทำยังไงถ้าโดนขโมยของมีค่า โชคร้ายที่ในชีวิตจริงเราอาจจะต้องเจอสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นการวางแผนเพื่อรองรับสถานการณ์เหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ

เตรียมตัวล่วงหน้า

เมื่อมาเรียนต่อที่ออสเตรเลีย เราต้องสามารถแสดงใบประกาศนียบัตรที่รับรองว่าเราได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนก่อนเข้าประเทศ เอกสารเหล่านี้ควรจะอยู่ในกระเป๋าที่ติดตัวเราตลอดเวลาเพราะเราอาจจะต้องแสดงเอกสารเหล่านี้ให้กับเจ้าหน้าที่ตรวจเอกสารข้ามแดนก่อนที่เราจะเข้าสู่ประเทศออสเตรเลีย
ถ้าคุณมีโรคประจำตัวหรือต้องทานยาพิเศษอยู่เป็นประจำ ให้ขอใบสั่งยาจากแพทย์ประจำตัวของคุณและนำไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเอกสารนี้จะช่วยเมื่อคุณต้องผ่านด้านกรมตรวจคนเข้าเมือง เมื่อคุณผ่านด่านนี้ไปและย้ายเข้าบ้านพักเรียบร้อยคุณควรนำเอกสารทั้งหมดไปละทะเบียนกับแพทย์ประจำตัวของคุณ (GP :General Practice) ในพื้นที่ที่คุณอยู่ ระบบนี้จะต่างจากที่เมืองไทยเพราะเมื่อคุณไม่สบาย GP ของคุณจะเป็นคนแรกที่คุณต้องไปหา

เจาะลึกระบบรักษาสุขภาพ

ออสเตรเลียเป็นประเทศที่น่าอยู่และมีอายุประชากรโดยเฉลี่ย 80 ปี อายุของประชากรที่ยืนยาวนี้ส่วนหนึ่งต้องขอบคุณระบบดูแลรักษาสุขภาพของออสเตรเลียที่เรียกกันว่า medicare
ถึงแม้ระบบนี้จะได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล แต่สิ่งที่ต่างจากอังกฤษคือระบบนี้เป็นระบบร่วมกันจ่าย ทางระบบจะช่วยจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่เกิดในโรงพยาบาลทั้งหมด แต่ถ้าเป็นการรักษาอื่นๆ ระบบจะช่วยจ่าย 75 - 80% เท่านั้น ดังนั้นประชาชนเองก็ต้องช่วยเหลือรัฐในการจ่ายค่าดูแลสุขภาพของตนเองด้วยและแม้ว่ารัฐบาลจะรับผิดชอบระบบดูแลรักษาสุขภาพทั้งหมด แต่ละรัฐจะได้รับมอบอำนาจในการจัดสรรงบประมาณอย่างเป็นอิสระ

สิ่งที่ระบบไม่ครอบคลุม

การรักษาพยาบาลบางชนิดไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่รัฐบาลจะช่วยจ่าย ได้แก่ ทันตกรรม การตรวจวัดสายตาและจักษุแพทย์ หรือค่าเดินทางด้วยรถพยาบาล ยกเว้นคนไข้จะมีบัตร Lower Income Earner Card ที่แสดงว่ามีรายได้ต่ำกว่า 486 ดอลลาร์ออสเตรเลียต่อสัปดาห์ ซึ่งทางระบบจะช่วยแบ่งจ่ายให้เป็นบางส่วน

การประกัน

นักเรียนต่างชาติไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสมัครประกันสุขภาพ แต่ประกันสุขภาพก็มีข้อดีตรงที่ช่วยครอบคลุมต้นทุนการรักษาพยาบาลนอกเหนือจากที่ระบบช่วยเหลือ ลองดูแผนประกันสุขภาพที่ครอบคลุมบริการที่หลากหลายจาก Media Bank และ Bupa Australia ดู
อย่างไรก็ตามนักเรียนควรทำประกันให้กับทรัพย์สินมีค่า เพราะของเหล่านั้นอาจหาย ถูกขโมย หรือเสียหาย สถาบันการศึกษาส่วนใหญ่รวมค่าประกันทรัพย์สินกับค่าเช่าห้องพักภายในมหาวิทยาลัยแล้ว หรือประกันทรัพย์สินอาจรวมกับประกันอื่นๆ ที่เรามีอยู่ ลองเช็คดูว่าสัญญาเช่าและเอกสารด้านการประกันของเราครอบคลุมทรัพย์สินส่วนบุคคลหรือเปล่า ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อประกันอื่นๆ เพิ่มเติม
ถ้าพบว่ามีของหายหรือถูกขโมย ต้องคิดให้ดีว่าจะเคลมประกันแบบไหน ถ้าความเสียหายไม่สูงมาก การออกเงินเล็กน้อยเพื่อซ่อมแซมของชิ้นนั้นอาจจะถูกกว่าการเคลมประกัน เพราะค่าประกันของเราจะเพิ่มสูงขึ้นหลังเคลม
ก่อนเซ็นสัญญาประกัน ควรแน่ใจว่าเราอ่านรายละเอียดทั้งหมด รวมถึงตัวอักษรเล็กๆ ในเอกสาร เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดข้อโต้เถียงระหว่างบริษัทประกันและลูกค้ามานักต่อนักแล้ว ควรดูให้แน่ใจว่าการประกันครอบคลุมอะไรบ้าง เพราะบางครั้งอาจไม่ครอบคลุมหากขโมยเป็นแขกรับเชิญของคนในที่พักอาศัย เป็นต้น ซึ่งหากเราอยู่ร่วมหอกับคนไม่รู้จัก อาจต้องระวังมากยิ่งขึ้น
ถ้าเราอาศัยอยู่กับคนอื่น เราควรมีกรมธรรม์ประกันภัยของเราเอง เก็บเอกสารไว้ในที่ๆ เราสามารถเข้าถึงได้หากต้องการเคลมประกัน และคอยตรวจเช็ควันหมดอายุและวันต่อสัญญาเสมอ คงจะดีที่สุดถ้าเราไม่ต้องใช้กรมธรรม์ประกันภัยเลย แต่การมีไว้ติดบ้านก็ช่วยให้เราสบายใจได้ในกรณีที่โชคร้ายจริงๆ

ขอบคุณที่มา:: https://www.hotcourses.in.th/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ROAD TRIP: เที่ยวซิดนีย์ด้วยตัวเอง สู่บริสเบน

สอนวิธีเติมน้ำมันรถเองในออสเตรเลีย /ป้ายุ้ยเมลเบิร์น

ข้อมูลสนามบิน : สนามบินบริสเบน (BNE)